จีพีเอส กับการวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงและแก๊ส (NGV/LPG)

การใช้จีพีเอสติดตามรถ วัดระดับเชื้อเพลิง
โดย แผนที่ไทย.คอม

ปัจจุบัน ในสภาวะน้ำมันแพง ต้นทุนการขนส่งก็สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำมันหรือแก๊ส เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถขนส่ง รถโดยสาร ความสูญเสียหนึ่งของผู้ประกอบการที่ประสบกันอยู่ทุกวันนี้ ก็คือ “การทุจริตน้ำมันเชื้อเพลิง” โดยพนักงานขับรถ หรืออาจรวมถึงเจ้าหน้าที่ของบริษัท ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการรถและเชื้อเพลิงรถขนส่ง

กราฟการใช้ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง วัดด้วยระบบจีพีเอส

รูปที่ 1 กราฟระดับน้ำมันเชื้อเพลิง

ผู้ประกอบการหลายราย หาทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการสารพัด ตั้งแต่ติดตั้งถังบรรจุน้ำมันแบบมีฝาล๊อค ป้องกันการเปิดเพื่อขโมยดูดน้ำมัน การมีสถานีบริการเป็นของตนเอง หรือการใช้ Fleet card เป็นต้น และสำหรับการนำเทคโนโลยีจีพีเอสมาใช้กับการวัดระดับเชื้อเพลิง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ประกอบการ ที่ต้องการควบคุมการใช้เชื้อเพลิง ตรวจจับการขโมยน้ำมัน

หลักการของการวัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ ด้วยจีพีเอสติดตาม คือ การต่ออุปกรณ์ของจีพีเอสเข้ากับตัวตรวจวัดระดับน้ำมันของรถยนต์ รวมถึงระดับแก๊ส NGV/LPG ซึ่งมีอยู่ในรถยนต์ทุกคัน และทำการส่งข้อมูลที่วัดได้ ไปยังเครื่องแม่ข่าย (GPS Server) ที่มีโปรแกรมจีพีเอส ในการแสดงผล ดังปรากฎในรูป

กราฟระดับแก๊ส NGV/LPG วัดด้วยระบบจีพีเอส

รูปที่ 2 กราฟระดับแก๊ส NGV/LPG

วิธีการทุจริตน้ำมันที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือ การขโมยดูดออกจากถัง และอีกวิธีที่พบ เป็นการทุจริตขณะที่เติม โดยการให้สถานีบริการน้ำมัน (เด็กปั้ม) เติมน้ำมันน้อยกว่าปริมาณที่ให้ออกบิล เช่น การเติมไม่เต็มถังแต่ให้ออกบิลเต็มถัง ทั้ง 2 วิธีการข้างต้น ทำให้ผู้ประกอบการสูญเสีย มีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

จากวิธีการที่กล่าวมา สามารถตรวจสอบได้โดยการติดตั้งจีพีเอสเพื่อวัดระดับน้ำมันหรือแก๊สได้ โดยภายหลังการติดตั้ง โปรแกรมจะแสดงปริมาณเชื้อเพลิงที่มีการเติมในแต่ละครั้ง และปริมาณการใช้งานตลอดทั้งวัน ทำให้ทราบได้ว่ามีการขโมยดูดน้ำมัน หรือการเติมน้ำมันเต็มถังหรือไม่ ซึ่งก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการช่วยตรวจสอบและควบคุมการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย ลดต้นทุนได้

และทั้งนี้ หากมีการจดบันทึกอัตราสิ้นเปลืองของรถแต่ละคัน ก็สามารถนำมาร่วมวิเคราะห์กับการใช้เชื้อเพลิงจริง โดยในโปรแกรมจีพีเอสจะมี รายงานการวิเคราะห์การใช้เชื้อเพลิง เข้ามาช่วยให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการอีกตัวหนึ่ง ทำให้เกิดความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

สนใจติดตั้ง การวัดระดับเชื้อเพลิงด้วยจีพีเอส โทร. 081-932-3520
หรือ
ติดต่อกับเรา คลิ๊ก…

 

GPS ติดตามแบบพกพา รุ่น MT-90

GPS ติดตามแบบพกพา รุ่น MT-90
+ + + ชมคลิปเกี่ยวกับสินค้า + + +

เหมาะกับการใช้งานแบบพกพา ตามบุคคล ทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยง หรือใช้กับรถยนต์ก็ได้
(โปรดรอการโหลดข้อมูลก่อนชม)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม GPS รุ่น MT-90 คลิ๊ก…

 

กรณีศึกษา: ระบบจีพีเอส กับ รถบริการ รับ-ส่ง พนักงาน

กรณีศึกษา: ระบบจีพีเอส กับ รถบริการ รับ-ส่ง พนักงาน
บทความโดย จีพีเอส แผนที่ไทย.คอม
Bus
การประยุกต์การใช้งานเครื่องจีพีเอสติดตามรถ (Vehicle GPS Tracker) และเครื่องแสดงความเร็ว (Speed Monitor) กับรถบริการสำหรับ รับ-ส่งพนักงาน ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ และนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน รถบริการ รับ-ส่งพนักงานมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีให้บริการทั้งบริษัทเอกชน หน่วยงานรัฐ และโรงงานต่างๆ โดยเฉพาะโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม

เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน และประชาชนผู้ใช้ถนนทั่วไป รถบริการรับ-ส่ง จำเป็นต้องมีผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์ มีความชำนาญ มีความพร้อมในการขับขี่และมีความรับผิดชอบสูง เพราะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ในส่วนของสภาพความพร้อมของรถบริการ ก็มีความจำเป็นไม่ต่างกัน

ความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการขับรถโดยประมาท และปราศจากความรับผิดชอบของผู้ขับขี่ คือ การเสียเวลาจากอุบัติเหตุ ความเสียหายของรถบริการ ความสึกหรอของเครื่องยนต์ การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงต้นทุนการบำรุงรักษาเครื่อง ยาง ช่วงล่าง เป็นต้น และที่สำคัญหากอุบัติเหตุมีความรุนแรง อาจจะก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้

การติดตั้งจีพีเอสติดตามรถ (Vehicle GPS Tracker) และเครื่องแสดงความเร็ว (Speed Monitor) เป็นการควบคุมความเร็วของรถ และพฤติกรรมของผู้ขับขี่ได้ทางหนึ่ง เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุและความสูญเสียดังกล่าว โดยความเร็วจำกัดอยู่ที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

คุณสมบัติเบื้องต้นของอุปกรณ์
o เครื่องจีพีเอสติดตามรถ (Vehicle GPS Tracker)
MVT-380 เป็นเครื่องจีพีเอสติดตามรถ ที่ถูกเลือกใช้ในโครงการนี้ ซึ่งมีคุณสมบัติหลัก คือ สามารถบอกตำแหน่ง ความเร็ว และส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ (GPRS) ไปยังเครื่องแม่ข่าย (File server) ในการเก็บข้อมูล และแสดงผล
สามารถส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น เช่น เครื่องแสดงความเร็ว ได้ด้วยเช่นกัน
o เครื่องแสดงความเร็ว (Speed Monitor)
เป็น อุปกรณ์แสดงความเร็ว รูปแบบตัวเลข 3 หลัก ใช้แสดงผลความเร็วที่ได้จากการคำนวณของดาวเทียม ผ่านเครื่องจีพีเอสติดตามรถ พร้อมอุปกรณ์เสียงและไฟแสดงผลเมื่อความเร็วเกินกำหนด ทำให้คนขับทราบว่าความเร็วจะเกินกำหนดแล้ว ในโครงการนี้กำหนดความเร็วในเครื่องแสดงความเร็วที่ 75 กม./ชม. เพื่อไม่ให้ความเร็วเกินกำหนดที่ 80 กม./ชม.

วิธีการและการดำเนินการ
o แผนภาพแสดงการต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน
MVt-380 gps tracker and AGT Speed monitor

o การติดตั้ง
รถที่ถูกติดตั้ง เป็นรถบัส VIP สำหรับรับ-ส่งพนักงาน ขนาด 45 ที่นั่ง มีระบบไฟฟ้าแบบ 24 โวลท์

ช่าง ติดตั้งทำการติดตั้งและต่อสายไฟต่างๆ ตามแผนภาพข้างต้น โดยทำการติดตั้งเครื่องจีพีเอสก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงทำการติดตั้งเครื่องแสดงผล ในส่วนของภาคจ่ายไฟ จะทำการติดตั้งเป็นอุปกรณ์สุดท้าย และสิ่งสำคัญในการติดตั้งอุปกรณ์ในรถยนต์ประเภทนี้ คือ ฟิวส์ เพื่อป้องกันกระแสเกินที่อาจเกิดขึ้นได้ ไปทำอันตรายกับเครื่องจีพีเอสและอุปกรณ์ต่อพ่วง

o การทดสอบและประเมินผล
นำ รถที่ถูกติดตั้ง ไปทดสอบโดยการให้คนขับ ขับขี่ที่ความเร็วเกินกำหนด คือ 80 กม./ชม. พบว่าเมื่อความเร็วของรถที่ปรากฏ ณ เครื่องแสดงผล (Speed Monitor) แสดงเลข 75 หรือมากกว่า ทำให้เกิดเสียงดังขึ้นจากอุปกรณ์ต่อพ่วง (Buzzer) และหลอดไฟ LED สีแดงติดขึ้น
ผล จากเสียงที่ดัง และไฟ LED ติด ทำให้ผู้ขับขี่ถอนคันเร่ง ความเร็วลดลง และเมื่อความเร็วลดลงต่ำกว่า 75 กม./ชม. (สังเกตจากตัวเลขบนเครื่องแสดงผล) พบว่าเสียงและไฟ LED หยุด/ดับ ลง

ข้อสังเกตุ
จาก การทดสอบ ขณะที่ขับรถทดสอบ พบว่าเรือนไมล์ของรถคันที่ถูกติดตั้ง แสดงผลไม่ตรงกับเครื่องแสดงผล โดยมีการแสดงความเร็วที่น้อยกว่าความเป็นจริง เช่น แสดงความเร็วที่ 55 กม./ชม. ในขณะที่ความเร็วจากเครื่องแสดงผลอยู่ที่ 70กม./ชม. ทางทีมงานจึงได้นำรถยนต์ส่วนบุคคลทำการวิ่งเปรียบเทียบ ซึ่งได้ความเร็วของรถยนต์ส่วนบุคคลที่ใกล้เคียงกับเครื่องแสดงผล
อาการที่ปรากฏข้างต้น ถูกเรียกโดยทั่วไปว่า อาการ “ไมล์แข็ง” อันมีสาเหตุหลายประการ เช่น ขนาดของล้อและยาง การประกอบรถ ซึ่งรถบัสส่วนใหญ่เป็นรถประกอบในประเทศ ใช้เครื่องยนต์และเรือนไมล์ต่างรุ่นกัน จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เราทราบว่าไมล์ของรถบัสหรือรถบรรทุกส่วนใหญ่ไม่มีความเที่ยงตรง ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุหากคนขับดูความเร็วจากไมล์รถที่เป็น “ไมล์แข็ง”

ประโยชน์ที่ได้รับ
o เจ้าของ – บริษัทรถบริการ
-สามารถควบคุมพฤติกรรมการขับขี่ของคนขับรถ ผ่านทางโปรแกรมและแสดงผลในตัวรถบริการ
-ทำให้ทราบถึงการใช้เส้นทางของคนขับ เช่น ขับใช้เส้นทางที่กำหนดหรือไม่ ขับรถในเส้นทางอันตรายที่ไม่มีไหล่ทาง หรือขับออกนอกบริเวณที่กำหนด เป็นต้น
-สามารถทราบถึง การจอด/หยุดรถ ในการรับ-ส่ง ในแต่ละวัน หรือดูย้อนหลัง ในวันที่มีปัญหาได้ เช่น กรณีคนขับจอดไม่ตรงจุด หรือออกก่อนเวลารับ-ส่ง เป็นต้น
-ลดการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่อคันสูง ไม่เสียเวลาการซ่อมแซม
-เมื่อเกิดอุบัติเหตุ สามารถทราบสถานที่เกิดเหตุได้ทันที ทำให้ส่งรถสำรอง หรือเดินทางไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที
-ประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับรถบริการ เช่น ค่าซ่อมบำรุง เครื่อง ยาง ช่วงล่าง เป็นต้น
-แสดงถึงความเอาใจใส่ในความปลอดภัย ต่อลูกค้า ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ลูกค้าพึงพอใจในการให้บริการ เพิ่มโอการในการได้งานและการต่อสัญญาบริการ

o ลูกค้า – โรงงานผู้ใช้บริการ
-ทราบถึงพฤติกรรมการขับขี่ของรถบริการ กรณีบริษัทรถบริการอนุญาตให้ใช้โปรแกรมควบคุม
-สามารถทราบถึง การจอด/หยุดรถ ในการรับ-ส่ง ในแต่ละวัน หรือดูย้อนหลัง ในวันที่มีปัญหาได้ เช่น กรณีคนขับจอดไม่ตรงจุด หรือออกก่อนเวลารับ-ส่ง เป็นต้น
-เพิ่มความปลอดภัย เพิ่มสวัสดิภาพแก่พนักงาน และลดอุบัติเหตุจากการรับ-ส่ง พนักงาน
-เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การผลิต อันเกิดจาก รับ-ส่ง พนักงานตรงเวลา ปราศจากอุบัติเหตุ
-สามารถวางแผนเส้นทาง กำหนดเส้นทาง บริการรับ-ส่ง พนักงาน ในแต่ละสายได้
-ข้อมูลต่างๆ สามารถส่งออกในรูปแบบไฟล์ MS-Excel เพื่อนำไปใช้ต่อไปได้

จาก กรณีศึกษาข้างต้น จีพีเอสติดตามรถ (Vehicle GPS Tracker) ยังสามารถประยุกต์ได้ในรูปแบบอื่น เพื่อธุรกิจต่างๆ อีกมาก เช่น รถขนส่งสินค้า รถเช่า รถในพื้นที่จำกัดความเร็ว รถยนต์ส่วนบุคคล เมื่อมีการใช้งานร่วมกับโปรแกรมจีพีเอสจัดการรถ (GPS Tracking Software) แล้ว จะได้ประโยชน์เพิ่มเติมและประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าการใช้เพียงเครื่องติดตาม แบบเดียว (Stand Alone) เท่านั้น ซึ่งจะได้มีการนำเสนอต่อไป

วิทยา พันธ์เมือง
โทร. 081-932-3520
จีพีเอส โดย แผนที่ไทย.คอม
24 มิ.ย. 54